อุตสาหกรรมยานยนต์-เครื่องใช้ไฟฟ้า-อิเล็กทรอนิกส์เสี่ยงปิดกิจการเพิ่ม

16 มิถุนายน 2567
อุตสาหกรรมยานยนต์-เครื่องใช้ไฟฟ้า-อิเล็กทรอนิกส์เสี่ยงปิดกิจการเพิ่ม

อุตสาหกรรมยานยนต์-เครื่องใช้ไฟฟ้า-อิเล็กทรอนิกส์เสี่ยงปิดกิจการเพิ่ม

อุตสาหกรรมยานยนต์-เครื่องใช้ไฟฟ้า-อิเล็กทรอนิกส์เสี่ยงปิดกิจการเพิ่ม ขณะที่การว่างงานโดยรวมจะยังไม่มาก ล่าสุดอยู่ที่ 1.01% ชั่วโมงทำงานเฉลี่ยต่อสัปดาห์อยู่ที่ 45-46 เหตุภาพรวมเศรษฐกิจมีปัญหาขาดแคลนแรงงาน

นายอนุสรณ์ ธรรมใจ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเศรษฐกิจดิจิทัล การลงทุนและการค้าระหว่างประเทศ และอาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยว่า ธุรกิจอุตสาหกรรมไทยไม่สามารถปรับตัวไปใช้เทคโนโลยีอุบัติใหม่ได้เร็วพอเพื่อสามารถตอบสนองตลาดโลกได้ดีกว่า

โดยคาดการณ์สถานการณ์ปิดกิจการในอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ อุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้เทคโนโลยีเดิมเพิ่มขึ้น คนงานในอุตสาหกรรมเหล่านี้จะว่างงานมากขึ้น 

แต่อัตราการว่างงานโดยรวมจะยังไม่เพิ่มขึ้นมากนัก ล่าสุดอยู่ที่ 1.01% เท่านั้น ชั่วโมงทำงานเฉลี่ยต่อสัปดาห์อยู่ที่ประมาณ 45-46 เพราะโดยภาพรวม เศรษฐกิจมีปัญหาขาดแคลนแรงงานจากการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ

ทั้งนี้ ทุนข้ามชาติไหลออกเป็นโจทย์ท้าทายเศรษฐกิจไทย ปัญหาของไทยซับซ้อนและถูกซ้ำเติมอีกจากคดีการเมืองที่อาจนำไปสู่การเปลี่ยแปลงทางการเมืองนอกวิถีประชาธิปไตยโดยอาศัยอำนาจตุลาการผนวกกำลังกับองค์กรอิสระ 

อย่างไรก็ดี เงินทุนระยะสั้นในตลาดการเงินยังคงไหลออกต่อเนื่องในไตรมาสสองปีนี้ ทั้งปี 2566 เงินทุนเคลื่อนย้ายไหลออกสุทธิ 14.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐอเมริกา ตามการขายสุทธิในหลักทรัพย์ไทยของนักลงทุนต่างชาติและการไหลออกของการลงทุนโดยตรงในต่างประเทศของนักลงทุนไทยเป็นสำคัญ การไหลออกของกลุ่มทุนข้ามชาติสัญชาติไทยสะท้อนความเข้มแข็งและเติบใหญ่เป็นทุนระดับโลกและระดับภูมิภาคมากขึ้น

การขยับลงทุนนอกประเทศของทุนข้ามชาติสัญชาติไทยสร้างเครือข่ายการผลิตและการตลาดให้กับบริษัทเหล่านี้ ขณะที่สะท้อนความสูญเสียความน่าสนใจของประเทศไทยในฐานะฐานการผลิตและการส่งออกในสายตาทั้งบรรษัทข้ามชาติต่างชาติและบรรษัทข้ามชาติของไทยเอง 

ไทยขาดความน่าสนใจในการดึงดูดการลงทุนเป็นปัญหาทั้งจากปัญหาโครงสร้างเศรษฐกิจและการเมือง เทคโนโลยีการผลิตเปลี่ยนเร็วภาคอุตสาหกรรมไทยปรับไม่ทัน นักลงทุนต่างชาติยังโยกเงินทุนโดยตรงและการลงทุนในตลาดการเงินออกจากไทยต่อเนื่อง 

ปัญหาความถดถอยของความสามารถในการแข่งขันของภาคส่งออกไทยยังอยู่อีกยาวนาน เนื่องจากการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมตอบสนองต่อตลาดโลกให้ดีขึ้นเป็นกระบวนการที่ใช้เวลา และต้องอาศัยระบอบประชาธิปไตยและระบบการเมืองไทยที่มีเสถียรภาพ

นายอนุสรณ์ กล่าวต่อว่า การที่อุตสาหกรรมไฮเทคไทยส่วนใหญ่เป็นเพียงผู้รับจ้างผลิตประกอบสินค้าไม่ได้เป็นเจ้าของเทคโนโลยี ดังนั้นยิ่งไม่มีความแน่นอนทางการเมืองเท่าไหร่ ยิ่งไม่มีเสถียรภาพมากเท่าไหร่ ยิ่งย้ายฐานการผลิตไปประเทศอื่นที่มีปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจและการเมืองดีกว่า การไม่มีมาตรการหรือนโยบายส่งเสริมให้เกิดกระบวนการถ่ายทอดเทคโนโลยีอย่างเป็นระบบและไม่มีความสามารถในการดูดซับเทคโนโลยี (คุณภาพทรัพยากรมนุษย์) อัตรากำไรของธุรกิจอุตสาหกรรมลดลงอย่างต่อเนื่องจากเงินบาทแข็งค่าต่อเนื่องในช่วงหลายปีที่ผ่านมา 

แม้รายได้จากการท่องเที่ยว (ส่งออกภาคบริการ) เพิ่มขึ้นอย่างมากทำให้ ไทยเกินดุลบัญชีเดินสะพัดและเงินบาทแข็งค่า แต่สิ่งนี้กลับทำให้ความสามารถในเชิงราคาของอุตสาหกรรมส่งออกถดถอยลง ในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมาก็ขาดการลงทุนในการเพิ่มผลิตภาพ พัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่และการลงทุนวิจัยพัฒนาเทคโนโลยี สินค้าส่งออกไทยยังมีค่าดัชนีความซับซ้อนของสินค้าไม่สูงมากนักเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศที่มีรายได้สูง สินค้าส่งออกซับซ้อนสูง จะสร้างมูลค่าเพิ่มและรายได้ได้สูงขึ้น สินค้าส่งออกไทยที่มีความซับซ้อนสูงส่วนใหญ่มักจะมีบรรษัทต่างชาติเป็นเจ้าของเทคโนโลยีและใช้เป็นฐานการผลิตเพื่อส่งออก


แหล่งที่มา : ฐานเศรษฐกิจ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

The information in the above report, publication and website has been obtained from sources believed to be reliable. However, Iron & Steel Institute of Thailand does not guarantee the accuracy, adequacy or completeness of the information. Any opinions or forecasts regarding future events may differ from actual events or results. In addition, Iron & Steel Institute of Thailand reserves the right to make changes and corrections to the information, including any opinions or forecasts, at any time without notice.